***วิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยครับ***
                                
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 15 จากทั้งหมด 21

ชื่อกระทู้: ***วิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยครับ***

  1. #1
    Cz1964's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    Saphanmai classic
    ข้อความ
    922
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 1 ครั้ง ใน 1 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    19

    Post ***วิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยครับ***



    -ในการออกทริปแต่ละครั้งในกรณีที่วิ่งเลนขวาสุดเท่านั ้นน๊ะครับ ให้ช่วยกันทำตามดังนี้
    1.วิ่งโดยใช้ความเร็ว 100-110 กิโลเมตร โดยดูจากรถที่นำหน้าขบวน
    ถ้าเห็นคันที่วิ่งอยู่หน้าสุด วิ่งคันเดียว ให้คันที่สอง วิ่งขึ้นไปตีคู่ และใช้ความเร็วคงที่เท่ากัน
    2.ต่อจากหัวขบวน ให้วิ่งสลับฟันปลากัน อย่าวิ่งเรียงกันน๊ะครับ เพื่อความปลอดภัย
    3.ให้ทิ้งช่วงประมาณอย่าไม่เกิน 5-7 เมตร และรักษาระดับความเร็วให้คงที่
    4.ตามขบวนแถวให้ทัน เพราะหากเกิดช่องว่าง จะทำให้รถยนต์สามารถเบียดเข้ามา
    อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และถ้าเกิดรถมีอาการผิดปกติ หรือน้ำมันใกล้หมด
    ให้ตีคู่ขึ้นมาบอกคันที่อยู่หน้า และให้คันที่รับทราบตีคู่บอกกันต่อๆขึ้นมาหัวขบวนน๊ะ ครับ
    ปล.อันนี้ไว้ใช้ในกรณีวิ่งออกเลนขวาเพื่อจะได้ปลอดภั ยทั้งเราและเพื่อนร่วมทางครับem97
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย vespakitty : 12-09-2009 เมื่อ 22:46
    benten : 0899683136
    facebook : https://www.facebook.com/benten9

  2. #2
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน เยิ่ยมไปเลย

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Cz1964 อ่านข้อความ
    -ในการออกทริปแต่ละครั้งในกรณีที่วิ่งเลนขวาสุดเท่านั ้นน๊ะครับ ให้ช่วยกันทำตามดังนี้
    1.วิ่งโดยใช้ความเร็ว 100-110 กิโลเมตร โดยดูจากรถที่นำหน้าขบวน
    ถ้าเห็นคันที่วิ่งอยู่หน้าสุด วิ่งคันเดียว ให้คันที่สอง วิ่งขึ้นไปตีคู่ และใช้ความเร็วคงที่เท่ากัน
    2.ต่อจากหัวขบวน ให้วิ่งสลับฟันปลากัน อย่าวิ่งเรียงกันน๊ะครับ เพื่อความปลอดภัย
    3.ให้ทิ้งช่วงประมาณอย่าไม่เกิน 5-7 เมตร และรักษาระดับความเร็วให้คงที่
    4.ตามขบวนแถวให้ทัน เพราะหากเกิดช่องว่าง จะทำให้รถยนต์สามารถเบียดเข้ามา
    อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และถ้าเกิดรถมีอาการผิดปกติ หรือน้ำมันใกล้หมด
    ให้ตีคู่ขึ้นมาบอกคันที่อยู่หน้า และให้คันที่รับทราบตีคู่บอกกันต่อๆขึ้นมาหัวขบวนน๊ะ ครับ
    ปล.อันนี้ไว้ใช้ในกรณีวิ่งออกเลนขวาเพื่อจะได้ปลอดภั ยทั้งเราและเพื่อนร่วมทางครับem97

    (ขอเพิ่ม)
    5. ควรวิ่งตามตำแหน่งที่กำหนดให้ อย่าง เคร่งครัด และไม่ควรแตก แถวออกไปโดยไม่มีเหตูผล
    6.อย่าเปลี่ยน ตำแหน่ง หรือเปลี่ยนเลนกระทันหันเพราะรถอาจเกี่ยว กัน
    7.ถ้าผู้นำ ลดความเร็วลงมา(วิ่งช้าลง) ก้ไม่ควรแซงขึ้นไปให้ ชะลอความเร้วตามๆๆไป เพือ่ไม่ให้เกิดความ วุ่นวาย
    8. ควรให้ความ เคารพยำเกรง กับผู้นำกลุ่ม นำทาง นำทีมและเชื่อฟัง คำบอกคำสั่ง อย่างเคร่งครัดเพื่อความสะดวกรวดเร้วในการเดินทาง
    9.ถ้าเกิดเหตุต่างๆ ระหว่างการเดินทางเช่นรถเสีย หรือรถล้ม และจะหยุดทั้งขบวน(ตามความเหมาะสม)
    10. ควรรักษาเวลาและแจ้งบอก ให้ผู้นำทีมทราบทุกครั้งที่จะออกนอกเส้นทาง(จะไม่ได้ เปนห่วง)

    ปล...ถ้าทำตามแบบนี้ ได้นะ สนุกทุกครังที่เดินทาง ไม่มีทริปไหน ที่ไม่มีใครอยากไป
    เสนอมา เพื่อเปน แนวทาง ให้พัฒา กัน ต่อไป55555555+++++
    ก่อนเดินทางควรมาการวางแผนการเดิน ทางและวางตำเห่งการขับ ขี่เหมาะสม ก่อนเช่น
    ซีซี ของรถ สะภาพรถ ความ ชำนาน ทางต่างๆๆ

    ***** เราไม่อยากเหน ภาพอนาจใจ หรือใครโดน สิบล้อทับตายบนถนนมัน จะทำให้ทุกอย่างจบ ครับ ไปไม่ถึงงานแน่ๆๆ*****

    /// เอาไปลองปฎิบัติ ดู นะครับ วิ่งได้ทุกเลน ///
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  3. #3
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน รวมกระทู้ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ อย่างปลอดภัย SpM

    ฝึกไว้ให้เป็นนิสัยในการขับขี่.......เพื่อความปลอดภ ัย
    สันญาณมือต่างๆๆ ง่ายๆๆไม่ยาก มากลองไปหัดทำกันบ้างนะครับ ได้ประโยชน์** คนนำเเละคนตาม สนใจดูกันด้วย นะครับ ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาขับกันอย่างเดียว5555++

    1.ระวังทางลื่น หรือมีสิ่งของ ตกอยู่













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Cz1964 : 04-05-2009 เมื่อ 14:42
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  4. #4
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    2 มีเหตุข้างหน้าให้ชะลอ ความเร็วลง













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  5. #5
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    3.ใช้ขอบคุณรถ คันที่ ชะลอให้เรา แซงขึ้น ไป......













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย STUNT.1100 : 01-05-2009 เมื่อ 21:05
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  6. #6
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    4.ให้เลี้ยว ไปทางขวา













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  7. #7
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    5.ให้เลี้ยวไปทางซ้าย....













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  8. #8
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    6.ให้ลดความเร็วลงมา....













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  9. #9
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    7.วิ่งแถวเรียง1 (ระยะห่างตาม เหมาะสม)













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  10. #10
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    8.วิ่ง2 แถวสลับฟันปลา( ระยะตามเหมาะสม)













    รูป รูป  
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  11. #11
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    9.หยุดๆๆ ชะลอความเร็วเเล้ว ตามไป....













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย STUNT.1100 : 01-05-2009 เมื่อ 16:55
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  12. #12
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน สาเหตุที่เรา.....เสียตังบ่อยๆๆ

    เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก สตาร์ทไม่ติด
    1.ไม่มีกำลังอัด
    - ระยะห่างของ กระเดื่องวาล์วไม่ถูกต้อง
    - ปลอกวาล์วสึก
    - วาล์วทำงานผิดพลาด
    - แหวนลูกสูบ , เสื้อสูบหลวม
    2.ไฟไม่ออกหัวเทียนหรือ ทองขาว
    - หัวเทียนสกปรก
    - หน้าทองขาวสกปรก
    - จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด
    - คอยล์เสื่อม
    - ไฟลัดวงจรในคอนเดนเซอร์
    3.น้ำมันไม่ลงคาร์บูเรเตอร์
    - ท่อส่งน้ำมันตัน
    - ลูกลอยชำรุด
    - ก๊อกน้ำมันตัน
    เครื่องยนต์มีเสียงดัง
    1.เสียงดังจากกระเดื่องวาล์ว
    - ตั้งวาล์วห่างเกินไป
    - สปริงวาล์วหัก
    - ลูกเบี้ยวเป็นรอยหรอไหม้
    2.เสียงดังจากโซ่ราวลิ้น
    - โซ่ราวลิ้นหย่อน
    - เฟืองราวลิ้นสึก
    - ตัวเร่งชำรุด
    3.เสียงดังในกระบอกมาก
    - ห้องเผาไหม้มีเขม่าจับมาก
    - สลับลูกสูบหลวม
    - ตั้งไฟแก่เกินไป
    4.เสียงจากคลัตซ์
    - น๊อตคลัตซ์ขันไม่แน่น
    - จานและเฟืองคลัตซ์สึกหรอ ไม่เรียบ
    คลัตซ์ลื่นหรือปล่อนคลัตซ์ไม่คล่อง
    - ปรับตั้งคลัตซ์ไม่ถูกต้อง
    - แผ่นคลัตซ์ไม่เรียบ หรือสึกหรอมาก
    - สปริงคลัตซ์อ่อนเกินไป
    - จานคลัตซ์สึก , บิดคด
    - ขันสปริงคลัตซ์ไม่เท่ากัน
    เข้าเกียร์ หรือเปลี่ยนเกียร์ยาก
    - ดุมเปลี่ยนเกียร์สึกมาก
    - ลูกเบี้ยวเกี่ยร์ชำรุด
    - ลิ้นสปริงเกียร์หัก
    ควันไอเสียมาก
    จุดที่สังเกตุ มีควันขาวออกจากท่อมาก
    - เติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป
    - เสื้อสูบ แหวนหลวม
    - เสื้อสูบเป็นรอย
    - บูชวาล์วหลวม
    แรงม้าตก
    จุดที่สังเกตุ กำลังไม่ดี , ไม่คงที่ - วาล์วรั่ว
    - สปริงวาล์วอ่อน
    - เสื้อสูบหลวม
    - ตั้งไฟอ่อนเกินไป
    - หน้าทองขาวสกปรก , ไม่เรียบ
    - หัวเทียนเสื่อม
    - หม้อกรองอากาศตัน
    - คาร์บูเรเตอร์สกปรก
    - ระดับลูกลอยผิดพลาด
    เครื่องยนต์ร้อนจัด
    จุดที่สังเกตุ เครื่องยนต์ร้อนเร็ว ในเวลาไม่นาน
    - น้ำมันเครื่องสกปรก
    - ใช้น้ำมันเครื่องผิดชนิด
    - ตั้งไฟไม่ได้สมดุล
    - มีเขม่าในห้องเผาไหม้มาก
    - มีดินโคลนจับที่เครื่องยนต์มาก
    ทองขาวไหม้ , แบตเตอรี่ไม่มีไฟ หรือไฟไม่ชาร์จ
    - คอนเดนเซอร์เสื่อม
    - แบตเตอรี่น้ำแห้ง
    - ขั้วแบตเตอรี่ หรือ แผ่นตะกั่วหลุด
    - สเตเตอร์ไม่ชาร์จไฟ
    - ไฟลัดวงจร หรือสายไฟหลวม
    .................................................. ........จะนำมาลงเพิ่มเติมเรื่อยๆนะครับem97
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  13. #13
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน เกี่ยวกับ....มอ"ไซด์

    ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ในการเดินทางคงคุ้นเคยกับศัพท์เหล่ านี้มาบ้างแต่เคยตั้งใจที่จะอ่านเพื่อ ให้รู้แน่ว่ามันคืออะไรกันบ้างไหม เผื่อบ้างทีมีโอกาสคุย กับคนอื่นจะได ้ไม่ต้องทำแค่ยืน ทำตาปริบๆ
    ขนาด
    ในที่นี้ก็คือ ความกว้าง ความยาว ความสูงของตัวรถ โดยความสูงจากพื้นนั้น จะวัดจากพื้นขึ้น ไปจนถึงจุดต่ำสุดของตัวรถ ส่วนความกว้างนั้น จะวัดกันที่ปลายแฮนด์ด้าน หนึ่งไปจนถึง ปลายแฮนด์อีกด้านหนึ่ง ส่วนความสูงของตัวรถนั้น วัดจากจุดที่ล้อแตะพื้นจนถึงจุด ที่สูง ที่สุดของตัวรถ (ไม่รวมกระจกมองหลัง) ช่วงห่างล้อ นั้นวัดที่แกนล้อหน้าถึงแกนล้อหลัง ส่วนความยาวของรถวัดขากขอบยางหน้า จนถึงขอบยางหลัง หรือบังโคลนท้าย

    น้ำหนัก
    มีการชั่งอยู่ 2 แบบ คือ
    1. น้ำหนักสุทธิ เป็นน้ำหนักตัวรถล้วนๆ ไม่รวมของเหลวที่เติมเข้าไป เช่น น้ำมัน น้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็น(สำหรับหม้อน้ำ) หรือน้ำกลั่น ซึ่งข้อมูลรถส่วนใหญ่ จะบอก น้ำหนักสุทธิเป็นส่วนมาก
    2. น้ำหนักรถ เป็นน้ำหนักรวมของรถเมื่ออยู่สภาพพร้อมใช้งานจริง คือของเหลวทุก จุดมีการเติมเรียบร้อยเหมือนการใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักที่ได้จะมากกว่าน้ำหนักสุทธิ

    เครื่องยนต์
    ซึ่งจะมีทั้งแบบ 4 จังหวะ และแบบ 2 จังหวะ

    ระบบระบายความร้อน
    ระบบระบายความร้อนในมอเตอร์ไซค์นั้นมีหลายระบบดังนี้
    1. ระบายความร้อนด้วยน้ำ คือการใช้น้ำไปหมุนเวียน และนำความร้อนที่เกิดจาก เครื่อง ยนต์มาถ่ายเทสู่บรรยากาศที่บริเวณแผงรังผึ้ง
    2. ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบนี้นิยมกันมากในรถเล็ก เนื่องจากเครื่องยนต์ มีความร้อนไม่มากนั้น บริเวณเสื้อสูบก็จะมีครีบสำหรับเพิ่มพื้นที่ถ่ายเทคว ามร้อนสู่บรรยากาศ
    3. ระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่อง หรือที่รู้จักกันในนาม ออยล์คูลเลอร์ หลักการคล้ายๆ หม้อนน้ำ คือมีการหมุนเวียนของน้ำมันเครื่องที่เกิดความร้อนจา กการหล่อลื่น ไปสู่งแผงรังผึ้ง ระบายความร้อน ถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ จากนั้น น้ำมันเครื่องที่เย็นตัวลง จะกลับเข้า สู่เครื่องยนต์เพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งน้ำมันเครื่องเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วนั้น จะส่ง ผลต่อประสิทธิภาพต่อการหล่อลื่นโดยตรง คือจะลดความหนืดลงไป (ใสขึ้น) ทำให้การ หล่อลื่นด้อยลง

    ระบบวาล์ว
    จะมีในสเปกเครื่องยนต์ 4 จังหวะ โดยมีระบบต่างๆ ดังนี้
    OHV ( โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) หรือที่รู้จักกันในนาม เครื่องตะเกียบ คือแคมชาร์ฟ (เพลาราวลิ้น หรือเพลาลูกเบี้ยว)จะอยู่บริเวณตีนเสื้อสูบ ขับวาล์วโดยการ ใช้ก้านกระทุ้ง (ที่มาของคำว่าเครื่องตะเกียบ) ไปกระทุ้งวาล์ว ที่อยู่บริเวณฝาสูบ มักจะพบในรถรุ่นเก่าๆ และรถ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน
    OHC (โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) หรือ SOHC (ซิงเกิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) ก็คือ แคมชาร์ฟ อยู่เหนือลูกสูบ คืออยู่ที่ฝาสูบ ขับวาล์วโดยตรง ( direct drive) หรือใช ้กระเดื่อง กดวาล์ว แต่รถจักรยานยนต์ส่วนมากจะใช้กระเดื่องกดวาล์วเป็นส่ วนใหญ่ ระบบนี้พบได้ทั่วไป ในรถเล็ก เช่น ฮอนด้า ดรีม ฮอนด้า โซนิก เป็นต้น
    DOHC (ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) คือมีแคมชาร์ฟ จะมี 2 แท่ง อยู่ที่ฝาสูบ อาจจะขับวาล์วโดยตรง หรือใช้กระเดื่องกดวาล์ว(ในรถรุ่นเก่า) ระบบนี้จะทำให้สามารถ ใช้วาล์วได้มากกว่าระบบอื่น
    ส่วนจำนวนวาล์วนั้น ก็จะมีตั้งแต่ 2 วาล์ว(ไอดี 1 ไอเสีย 1) 3 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 1) 4 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 2) 5 วาล์ว(ไอดี 3 ไอเสีย 2) หรืออาจจะมีถึง 8 วาล์ว(ไอดี 4 ไอเสีย 4) ในรถฮอนด้า เอ็นอาร์ 750 แต่ลูกสูบจะเป็นแบบวงรี จึงทำให้มีพื้นที่ในการบรรจุวาล์วมาก
    ในรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะนั้น ระบบที่นิยมในปัจจุบันคือ รีดวาล์ว หคือแคร้งเครสรีดวาล์ว มีลักษณะเป็นแผ่นลิ้นบางๆ ติดตั้งอยู่ที่ช่องทางไหลของไอดี และจะเปิดทางให้ไอดี ผ่าน เข้าสู่เครื่องยนต์ในจังหวะดูด และรีดวาล์วจะปิดช่องทางไอดีไม่ให้ไหล ย้อนกลับด้วยแรงอัด ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลง

    ขนาดความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.)
    แสดงให้เห็นถึงขนาดของเครื่องยนต์ โดยสามารถวัดขนาดของ ซี.ซี. ได้จากการคำนวณ ปริมาตรลูกสูบในช่วงเคลื่อนที่ในกระบอกสูบ คือ จากศูนย์ตายบนถึงศูนย์ตายล่าง สำหรับ เครื่องยนต์ 2 สูบ ขึ้นไป ให้รวมจำนวน ซี.ซี. ทั้งหมดเข้าด้วยกัน

    ระบบจุดระเบิด
    เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเ ทียน เพื่อจุดระเบิดไอดี สำหรับรถผู้หญิงและรถสกูตเตอร์นั้น มักจะใช้ระบบจุดระเบิดแบบ C.D.I.

    ระบบน้ำมันหล่อลื่น
    มี 2 ระบบคือ
    ระบบน้ำหมันหล่อลื่นแบบใช้ปั๊ม (รถ 4 จังหวะ) ซึ่งจะใช้น้ำมันเครื่อง เป็นตัวหล่อลื่นเครื่องยนต์ทั้งระบบ ตั้งแต่เพลาราวริ้น กระบอกสูบ ชุดข้อเหวี่ยง จนไปถึงชุดเกียร์และคลัทช์(กรณีเป็นแบบคลัทช์เปียก)
    ระบบหล่อลื่นแบบแยกส่วน หรือใช้ออโตลูป (รถ 2 จังหวะ) คือจะแยกส่วนการหล่อลื่นกัน โดยชุดเกียร์และคลัทช์นั้น จะใช้น้ำมันเกียร์หล่อลื่น ส่วนการหล่อลื่นกระบอกสูบและข้อเหวี่ยงนั้น จะใช้น้ำมันออโตลูปเป็นตัวหล่อลื่น โดยจะรวมมากับไอดีและจะถูกเผาไหม้ไปพร้อมกับไอดี

    ระบบคลัทช์
    มีทั้งคลัทช์เปียกหลายแผ่นซ้อนกัน (แช่ในน้ำมันเครื่อง) ซึ่งรถใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ระบบนี้ และคลัทช์แห้งหลายแผ่นซ้อนกัน ซึ่งจะไม่มีน้ำมันเครื่องมาเกี่ยวข้องเลย นิยมใช้ในรถแข่ง เนื่องจากเสียงการทำงานดังมาก และสึกหรอเร็ว แต่ให้ประสิทธิภาพการจับตัวของแผ่นคลัทช์ดีกว่าคลัทช ์เปียก

    ระบบสตาร์ท
    มี 2 แบบ คือ ระบบสตาร์ทไฟฟ้า คือใช้มอเตอร์เป็นตัวสตาร์ท เช่นในรถครอบครัว และระบบสตาร์ทเท้า ใช้เท้าเหยียบคันสตาร์ท


    แรงม้าสูงสุด
    คือแรงที่เครื่องยนต์สามารถฉุดลากรถให้วิ่งไปได้ในระ ยะทางและในระยะเวลาหนึ่งๆ โดยที่ “ 1 แรงม้า จะเท่ากับ งานที่เกิดจากการเคลื่อนวัตถุหนัก 75 กก. ไปได้ระยะทาง 1 เมตร ภายใน 1 นาที ” ใช้เปรียบเทียบแสดงค่าหน่วนวัดเป็นแรงม้า ซึ่งในขณะที่ เครื่องยนต์ทำงานเต็มที่ แรงม้าที่ได้ก็คือแรงม้าสูงสุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในรอบเครื่องยนต์ที่ต่าง กันไป เช่น แรงม้าสูงสุดของรถสปอร์ต 150 ซี.ซี. คันหนึ่งเท่ากับ 35 PS ที่ 10500 รอบ/นาที แต่ถ้าเป็นรถที่เน้นการใช้งานในรอบต่ำๆ เช่นรถ ชอปเปอร์ หรือ ครูสเซอร์ แรงม้าก็จะมาที่รอบต่ำกว่า เช่น 25 PS ที่ 4500 รอบ/นาที เป็นต้น ซึ่งจะขับขี่ได้ง่ายกว่า รถสปอร์ต แต่ความแรงก็จะน้อยกว่าเช่นกัน และหน่วยของแรงม้านั้น มีหลายหน่วยที่ใช้วัด เช่น PS PS(DIN) HP หรือ กิโลวัตต์ ซึ่งวิธีวัดก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละระบบ

    แรงบิดสูงสุด
    แรงบิด(torque) ก็คือแรงฉุดลากของเครื่องยนต์ หรือกำลังของเครื่องนั่นเอง ไม่ใช่ความเร็ว ซึ่งจะส่งผลไปถึงอัตราเร่งนั่นเอง โดยเป็นแรงบิดของเพลาข้อเหวี่ยง คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานเพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนในอัตรา…ร อบ/นาที และจะเกิดแรงบิดขึ้น ซึ่งในขณะเครื่องยนต์ทำงานเต็มที่นั้น แรงบิดที่ได้ก็คือ แรงบิดสูงสุด ซึ่งจะเกิดในรอบ เครื่องยนต์ที่ต่างกัน เช่นเดียวกับแรงม้าสูงสุด เช่น 2.75 กก.-ม.(กิโลกรัม-เมตร)/6500 รอบ/นาที ซึ่งหมายถึง เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป 6500 รอบ/นาที เกิดแรงบิดขึ้น 2.75 กก.-ม. (1 กก.-ม. หมายถึงงานซึ่งเกิดจากการหมุนวัตถุที่มีรัศมี 1 เมตรไปได้โดยใช้แรง 1 กก.) ซึ่งในรถที่มีแรงบิดมาในรอบต่ำๆ เช่น 5000 รอบ ก็จะทำให้การขับขี่ไม่ต้องใช้คันเร่งมาก เช่นในรถชอปเปอร์ ส่วนรถสปอร์ตนั้น แรงบิดมาที่รอบค่อนข้างสูง เช่น 8000 รอบ/นาที ขึ้นไป โดยจะอยู่ในรอบใกล้เคียงกับแรงม้าสูงสุด

    รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด
    หมายถึง การหักเลี้ยวของรถไปด้านใดด้านหนึ่งจนสุด ในขณะที่รถอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้น แล้วหมุตรอบตัวเองเป็นวงกลม รัศมีของวงกลมนั้นก็คือ รัศมีวงเลี้ยวแคบสุดของรถคันนั้น

    มุมไต่
    เป็นมุกที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่รถอยู่ในตำแหน่งเกี ยร์ต่ำ จะสามารถไต่ขึ้นเนินได้เท่าไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่รถ 1 จังหวะจะมีมุมไต่ที่ดีกว่า รถ 2 จังหวะ เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีแรงบิดในรอบต่ำที่ดีกว่ารถ 2 จังหวะ ที่มีความจุเท่ากัน

    อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
    การคำนวณพิจารณาจากการใช้น้ำมัน 1 ลิตร รถจะวิ่งไปได้ไกลกี่กิโลเมตร เช่น 100 กม./ลิตร (ค่าที่ได้จากการทดสอบ ความเร็วที่ 30 กม./ชม.) คือ เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 30 กม./ชม. บนทางเรียบจะสามารถไปได้ไกล 100 กม. โดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ลิตร นั่นเอง

    ขนาดยาง
    การบอกขนาดความกว้างของหน้ายางนั้น มีทั้งบอกขนาดเป็น "นิ้ว" เช่น 2.75 นิ้ว ขอบ 17 คือใช้กับวงล้อขอบ 17 นิ้ว และบอกขนาดยางเป็นมิลลิเมตร เช่น 100/70 ขอบ 17 คือ หน้ายางกว้าง 100 มม. แก้มยางสูงเป็น 70 % ของหน้ายาง คือ 70 มม. ใช้กับขอบล้อขนาด 17 นิ้ว โดยที่ 1 นิ้ว = 2.54 ซม.

    ขนาดล้อ
    คือขนาดความกว้างกระทะล้อ มักจะบอกเป็นนิ้ว เช่น กระทะล้อกว้าง 2.5 นิ้ว คือความกว้าง ของกระทะล้อ ส่วนที่ใส่ยางนอกนั่นเอง และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ ก็จะบอกขนาด เป็นนิ้วเช่นกัน เช่น 17 นิ้ว 18 นิ้ว เป็นต้น

    มุมแคสเตอร์/ระยะเทรล
    มุมแคสเตอร์ คือ มุมซึ่งอยู่ระหว่างแนวแกนช็อคอัพหน้ากับเส้นที่ลากตั ้งฉากกับพื้นถึงคอรถ
    ระยะเทรล คือ ระยะห่างระหว่างเส้นตั้งฉากที่ลาด จากพื้นดินผ่านจุดศูนย์กลาง ของแกนล้อ หน้ากับ เส้นที่ลากต่อขนานออกจากแกนช็อคอัพหน้าตัดกับพื้นดิน ระยะทั้ง 2 มีความ สัมพันธ์กันคือ ถ้ามุมแคสเตอร์ยิ่งมีองศามากขึ้น ระยะเทรลก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างรถที่มีมุมแคสเตอร์และระยะเทรลมาก เช่น รถชอปเปอร์ และรถครูสเซอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลดีต่อการทรงตัวในทางตรง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามุมแคสเตอร์น้อยลง ระยะเทรลก็จะน้อยลงไปด้วย เช่นในรถสปอร์ต ซึ่งจะมีความมั่นคงในทางโค้งมากขึ้น

    ตัวถัง
    มีหลายลักษณะ คือ
    - แบบทวินสปาร์ เช่น ในรถ ฮอนด้า เอ็นเอสอาร์ เป็นต้น
    - แบบดับเบิ้ลเครเดิล หรือทรงเปลคู่ เช่น ในรถ ยามาฮ่า อาร์เอ็กแซด เป็นต้น
    - แบบอันเดอร์โบน หรือแบ็คโบนพื้นต่ำ เช่นในรถครอบครัว
    - แบบไดมอน หรือทรงเปลเดี่ยว เช่น พวกรถคัสตอม หรือรถจักรยานยนต์รุ่นเก่าๆ (เช่นฮอนด้า วิง)

    ระบบกันสะเทือน
    ในด้านหน้า มีทั้งแบบ เทเลสโคปิก ซึ่งก็คือช็อคอัพหัวตั้งแบบที่ใช้งานกันทั่วไป และ แบบเทเลสโคปิก อัพไซด์ดาวน์ หรือ ช็อคหัวกลับนั่นเอง นอกจากสองระบบดังกล่าวแล้ว ยัง มีระบบอื่นๆ อีกหลายแบบ เช่น ระบบสวิงอาร์ม เช่นเดียวกับล้อหลัง เช่น ในรถ บิโมต้า เทซี่ หรือแบบเทเลเลเวอร์ โดยจะมีแขนยึดและช็อคอัพแยกตัวออกไป แบบในรถ บีเอ็มดับบลิว
    ส่วนในด้านหลังนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ระบบสวิงอาร์ม จุดหมุนเดียว และมีทั้งแบบช็อคอัพคู่และ ช็อคอัพเดี่ยว ซึ่งในรถที่ใช้ช็อคอัพเดี่ยวนั้น ก็จะแยกออกเป็นแบบ โมโนช็อค คือ กระบอกช็อคยึดกับสวิงอาร์มโดยตรง เช่น ยามาฮ่า วีอาร์ ทีแซดอาร์ เจอาร์ เป็นต้น (ไม่ใช่ระบบโมโนครอส ตามที่ยามาฮ่าระบุมาแต่อย่างใด) กับแบบใช้กระเดื่องทดแรง เช่น ในรถ คาวาซากิ เคอาร์ ซูซูกิ อาร์จีวี และ อาร์จี แกมม่า เป็นต้น และนอกเหนือจากนี้ ยังมีแบบโฟร์บาร์ลิ้งค์เกจ ซึ่งก็จะเป็นระบบคล้ายๆ กับระบบกันสะเทือนแบบปีกนก 2 ชั้น ในรถยนต์นั่นเอง (หาดูได้จากช่วงล่างด้านหน้าของรถกระบะ) ดังเช่นในรถ โมโตกุซซี่ บางรุ่น และระบบโปรอาร์ม(ชื่อเรียกเฉพาะของฮอนด้า) หรือสวิงอาร์มแขนเดี่ยว เช่นในรถ ฮอนด้า เอ็นเอสอาร์ 150 เอสพี

    ระบบเบรค
    ส่วนใหญ่จะใช้อยู่ 2 ระบบก็คือ
    1. ดรัมเบรค ทำงานโดยใช้ระบบกลไกล และสายเคเบิล
    2. ดิสก์เบรค ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบไฮดรอลิก 100 % คือใช้น้ำมันไฮดรอลิก ไปดันลูกสูบ คาลิเปอร์ แต่ก็มีระบบอื่นๆ อีกเช่น สายถึงไฮดรอลิก (พบในรถรุ่นเก่าๆ) คือใช้สายเคเบิล ส่งแรงไปกดแม่ปั๊มที่คาลิเปอร์ และแบบใช้สายเคเบิลอย่างเดียว ซึ่งระบบนี้จะ ให้ประสิทธิภาพที่ต่ำสุด โดยใช้กลไกที่คาลิเปอร์ไปดันลูกสูบ ซึ่งส่วนใหญ่จะ มีใช้ในรถ ที่ความเร็วต่ำๆ หรือในรถ ATV บางรุ่น

    ต่อไปนี้เมื่อใครพูดถึงเรื่องของมอเตอร์ไซค์ ท่านสามารถที่จะร่วมวงสนทนา ได้อย่างสนุกสนานอย่างแน่นอน...........ขอให้สนุกกับ การสนทนานะครับ


    อ่านหน่อยนะน้อง พี่ไม่ไหวเเล้ว ที่จะรับสายยยยยยยยยยยยยยยยem9755555555555+++
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  14. #14
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน เทคนิค การเบรค ที่ปลอดภัย

    เบรกคืออุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดสำหรั บยานพาหนะ แต่น่าแปลกที่คนไทย (เท่าที่ผมเจอ) ให้ความสนใจเรื่องเบรกน้อยมาก พอสตาร์ทรถเป็น ออกตัวได้ก็ “ฉันขี่รถได้แล้วว้อยยย...” สนใจแต่ว่ารถคันนี้ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่? เทียบกันรุ่นนั้นแล้วคันไหนแรงกว่า? ฯลฯ ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะทำยังไงถึงจะหยุดรถได้ในระยะทาง ที่สั้นที่สุด หรือจะใช้เบรกในการคอนโทรลรถอย่างไร
    เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์มากกว่า 50% ใช้เบรกไม่ถูกต้อง!!!
    ตั้งแต่ผมเริ่มขี่มอเตอร์ไซค์มา ได้รู้จักกับผู้ขี่มากมายหลากหลายทั้งรถเล็ก รถใหญ่ ทั้งเพิ่งเริ่มขี่จนถึงขี่มาเป็น 10 ปี มีหลายสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านั้นใช้เบรกไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีคนสอนเลยหัดเองและคิดว่าถูกต้องแล้วจึงทำแบบนี้ มาตลอด, มีคนสอนแต่คนที่สอนเองก็ทำไม่ถูกเลยพาลผิดกันต่อไป, ฯลฯ คราวนี้เราลองมาดูกันว่าผลที่ได้ (ซึ่งมันผิด) มีอะไรบ้าง
    • ใช้เบรกหลังเป็นหลัก (ใช้เบรกหน้าน้อยมากหรือแทบไม่ใช้เลย)
    • กำคลัทช์เวลาเบรก
    • เข้าใจว่าเบรกหน้าแล้วจะทำให้รถพับล้ม หรือตีลังกา
    • เข้าใจว่าเบรกจนล้อล็อกเป็นการเบรกที่ดี
    เหล่านี้คือความเข้าใจที่ผิดทำให้การเบรกไม่ถูกต้อง จึงต้องใช้ระยะทางเบรกมากกว่าที่ควร ซึ่งอาจไม่เพียงพอในสถานการณ์คับขันและเป็นสาเหตุให้ เกิดอุบัติเหตุได้ เอาหล่ะ... เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าเบรกท ี่ดี ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
    โดยหลักๆ แล้ว เบรกแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    1. เบรกหน้า (Front Brake)
    เป็นเบรกที่ให้ประสิทธิภาพในการหยุดรถดีที่สุด แต่จะทำให้รถเสียความสมดุล : จาก ภาพที่(2) จะเห็นว่าจากตำแหน่งของรถและผู้ขี่ในสภาวะปกติ(ภาพลา ยเส้นสีฟ้า) เมื่อกดเบรกหน้า น้ำหนักเกือบทั้งหมดของรถจะถูกเหวี่ยงมาด้านหน้าผ่าน โช้คลงไปสู่ล้อหน้า (นี่แหละที่มาของคำว่า “เบรกหัวทิ่ม”) ณ จุดนี้จึงเป็นการลดความเร็วของรถทั้งคันอย่างแท้จริง (เพราะมันมารวมอยู่ที่ล้อหน้าเกือบหมดแล้ว) แต่ด้วยน้ำหนักดังกล่าวนี้เองทำให้ช่วงหน้าหนักเป็นผ ลให้รถเลี้ยวยาก
    2. เบรกหลัง (Rear Brake)
    ให้ประสิทธิภาพในการเบรกน้อยกว่า แต่รถมีความสมดุลมากกว่า : จาก ภาพที่(3) เนื่องจากเมื่อกดเบรกหลังจะมีน้ำหนักบางส่วนกดลงมาที ่ล้อหลังแต่ส่วนใหญ่จะยังคงถูกเหวี่ยงไปยังด้านหน้าข องรถตามแรงโมเมนตัม ณ จุดนี้จึงเป็นการลดความเร็วเพียงบางส่วนของทั้งหมด เพราะความเร็วส่วนที่เหลือได้ถ่ายไปยังด้านหน้ารถ (ฉะนั้นถึงแม้เบรกจนล้อหลังล็อค รถก็ยังคงวิ่งต่อไปได้ด้วยล้อหน้า) ทำให้ใช้ระยะทางในการเบรกมากกว่า แต่นี่เองทำให้น้ำหนักของรถกระจายไปยังล้อหน้า-หลังอย่างสมดุลเป็นผลให้ควบคุมรถในขณะเบรกได้ง่าย
    วิธีการเบรกที่ถูกต้องจะใช้เบรกหน้าและหลังเป็นหลัก และจากคุณสมบัติของเบรกที่กล่าวมาข้างต้นเราจึงสามาร ถสรุปได้ว่า การเบรกที่ดีควรให้น้ำหนักการกดเบรกหน้าประมาณ 70-80% และหลังประมาณ 20-30% และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรกดเบรกหลังก่อนเล็กน้อยเพื่ อการกระจายน้ำหนักและประสิทธิภาพการเบรกที่ดีกว่า แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ให้กดพร้อมกันเลย
    ทำไมต้องกดเบรกหลังก่อน ?
    จากหลักการที่เขียนไว้ข้างต้นลองดู ภาพที่(5) แล้วนึกตามนะครับ ถ้าเรากดเบรกหน้าก่อน น้ำหนักส่วนใหญ่จะถูกเหวี่ยงมาที่ล้อหน้า(มากหรือน้อ ยขึ้นอยู่กับน้ำหนักการกดเบรก) ฉะนั้นที่ล้อหลังก็จะไม่มีน้ำหนักกดอยู่หรือมีก็เพีย งเล็กน้อย ทำให้หน้าสัมผัสยางกับพื้นถนนมีน้อย ดังนั้นเมื่อเรากดเบรกหลังในจังหวะต่อมาจึงแทบไม่ได้ ช่วยลดความเร็วของรถแต่อย่างใด (เหมือนยางลบซึ่งถ้าไม่ออกแรงกดมันก็จะไม่ฝืด ทำให้ถูไถลได้ง่าย) ซึ่งในกรณีนี้ไม่ต่างอะไรกับการใช้เบรกหน้าเพียงอย่า งเดียว ..........
    แต่ถ้าเรากดเบรกหลังก่อน
    น้ำหนักบางส่วนจะกดไปยังล้อหลังทำให้การเบรกนี้ช่วยช ะลอความเร็วได้ในระดับหนึ่งก่อนที่น้ำหนักดังกล่าวจะ ถูกส่งไปด้านหน้ารถตามโมเมนตัม ซึ่งเมื่อกดเบรกหน้าในจังหวะต่อมาหลังจากความเร็วได้ ลดลงมาบ้างแล้ว ทำให้ระยะเบรกที่ได้สั้นกว่าการเบรกหน้าเพียงอย่างเด ียว อีกทั้งบาลานซ์ของรถก็ดีกว่าเพราะมีน้ำหนักกดอยู่ทั้ ง2ล้อ
    ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการเบรก
    “เบรกหน้าแล้วจะทำให้รถพับล้ม หรือตีลังกา…!!!” นี่คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนขี่มอเตอร์ไซค์บ้านเราใช ้เบรกหลังเป็นหลัก(ซึ่งไม่ถูกต้อง)... สาเหตุหลักอย่างนึงที่ทำให้คิดแบบนี้คือมีประสบการณ์ จากการขี่จักรยาน ที่เมื่อกดเบรกหน้าอย่างกระทันหันจะทำให้หน้าทิ่มจนล ้อหลังลอยขึ้นจากพื้นหรือรถพับล้ม แต่ผมยืนยันได้เลยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยา กกับรถมอเตอร์ไซค์เพราะ 1.น้ำหนักมากกว่า(เยอะ)
    2.มีโช้คอัพหน้าคอยซับแรง(น้ำหนัก)
    ที่ถูกถ่ายมาเมื่อทำการเบรก ฉะนั้นไม่ต้องกลัวครับ มันไม่ล้มง่ายอย่างที่คุณคิดหรอก!
    งั้นเรามาลองฝึกกันซะหน่อยดีมั๊ย... ในช่วงเริ่มต้นหัดใช้เบรกหน้าอาจจะยังไม่ชินจึงรู้สึ กว่าเวลาเบรกรถจะมีอาการหน้าทิ่ม (ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากเวลาคุณหัดขับรถยนต์แล้วลองเบรก หรอกครับ ผมรับรองได้ร้อยทั้งร้อยหัดขับครั้งแรกก็เบรกหัวทิ่ม ทุกคน) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคุณใช้น้ำหนักในการกดเบรกมากเกิ นไปหรืออาจกดเร็วเกินไป วิธีแก้คือฝึกใช้เบรกหน้าบ่อยๆเพื่อหาน้ำหนักการกดเบ รกที่เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากค่อยๆกด ช้าๆ อย่ากดอย่างกะทันหัน แรกๆอาจใช้ระยะทางมากหน่อยแต่เมื่อคุณเริ่มชินกับน้ำ หนักเบรกและมีความมั่นใจมากขึ้น คุณจะสามารถเบรกได้ในระยะทางที่สั้นและนุ่มนวล
    เอี๊ยดดด!!!............ อยู่???” (การเบรกจนล้อล็อก) เสียงยางถูกับถนนอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นเสียงของ การเบรกที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เสียงนี้คือสัญญาณอันตรายที่บอกคุณว่า “เบรกไม่อยู่แล้วโว้ย...สละยาน!!!” เพราะเสียงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราเบรกจนล้อหยุดหมุนหร ือล้อล็อคโดยที่รถยังคงวิ่งอยู่ (กรณีนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการกดเบรกหลัง เพราะถ้าคุณกดเบรกหน้าจนล็อคหล่ะก็ผมว่าตอนนั้นตัวคุ ณคงลอยอยู่กลางอากาศแล้ว...) นั่นหมายความว่าเบรกไม่ได้ทำหน้าที่ในการชะลอความเร็ วอีกต่อไปเพราะล้อหยุดหมุนแล้ว แต่รถยังคงไถลไปตามแรงเหวี่ยงจากความเร็วที่วิ่งมา โดยเสียง”เอี๊ยด” ดังกล่าวเกิดจากการที่ยางถูกถูไถลไปกับพื้นถนน ส่วนจะไถลไปไกลขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าก่อนที่ล้อจะล ็อคนั้นความเร็วอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าเร็วน้อยก็ไถลไปพอขำๆ แต่ถ้าเร็วมากก็คงจะต้องมาดูกันอีกทีครับว่ารถกะคนขี ่ อะไรจะไถลไปได้ไกลกว่ากัน!!!...
    ลองดูใน ภาพที่(6) ซึ่งเป็นการทดลองเบรกจนล้อหลังล็อค แล้วทำการเช็คระยะทางที่ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยให้ผู้ขี่ 3 คนทดลองเบรกจนล้อหลังล็อคที่ความเร็วสองระดับ
    ผลที่ได้คือ
    - ความเร็ว 48 กม./ชม. ระยะเบรกเฉลี่ย 40.5 เมตร
    - ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกเฉลี่ย 128.5 เมตร

    จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับการเบรกแบบล้อไม่ล็อคใน ภาพที่(4) ระยะทางที่ได้ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ความเร็ว 60 กม./ชม. ใช้ระยะทางเพียง 35 เมตร) นั่นแสดงว่าไอ้การเบรกจนล้อล็อคเนี่ยเป็นการเบรกที่ไ ม่มีประสิทธิภาพ (ไม่งั้นเค้าคงไม่คิดระบบ ABS ขึ้นมาใช้หรอก จิงมะ) ฉะนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวเราจึงควรฝึกเบรกบ่ อยๆ ทั้งหน้าและหลังเพื่อหาว่า เราจะสามารถกดเบรกได้มากที่สุดเท่าไหร่โดยที่ล้อจะไม ่ล็อค
    “กำคลัทช์เวลาเบรก”
    อันนี้เดาว่าน่าจะมาจากการที่คนขี่กลัวรถจะดับ สำหรับท่านที่เคยหัดขี่รถมอเตอร์ไซค์มีคลัทช์คงจะจำก ันได้ถึงตอนที่เราหัดขี่แรกๆ พอเบรกเพื่อจอดรถแล้วลืมบีบคลัทช์นี่รถมันจะกระตุกแล ้วพาลจะล้มตลอด(ซึ่งเป็นอะไรที่เสียฟอร์มมาก) ดังนั้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดเราเลยกำคลัทช์พร้อมเบ รกซะเลย... ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผิดในการเบรกเพราะเมื่อกำคลัทช์ร ถจะไม่มีเอนจิ้นเบรก ทำให้รถยิ่งไหลเร็วขึ้น จึงต้องใช้ระยะเบรกมากขึ้นและยังทำให้ล้อล็อคได้ง่าย กว่าปกติด้วย
    ** ข้อควรจำสำหรับการใช้คลัทช์
    โดยปกติเราจะใช้คลัทช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ หรือป้องกันรถดับที่ความเร็วต่ำๆเท่านั้น เช่นก่อนการหยุดหรือจอดรถ (0-10 กม./ชม.)

    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

  15. #15
    Member STUNT.1100's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    สถานที่
    เข้ากับเค้า ได้หมดแหละ
    ข้อความ
    192
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน สาวๆและ คนซ้อนท้ายความทราบ


    เทคนิคการซอน ก้อมีนะทำเปนเล่นไป5555555555++++

    ข้อควรจำเมื่อต้องเป็นซ้อนท้าย
    การเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในขณะที่ซ้อนท้ายควรทำเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะการย้ายสะโพก เพราะสะโพกของเราคือจุดรวมน้ำหนักของร่างกาย การย้ายตะโพกของคนซ้อนไม่ว่าจะเป็นขณะรถเอียงเข้าโค้ ง หรือขณะเบรกจะมีผลต่อการทรงตัวของรถทันที
    2. จะเป็นการดีหากคนซ้อนท้ายจะมองไปในทิศทางเดียวกับคนข ี่ เพราะจะทำให้คนซ้อนสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเต รียมตัวรับสถานะการณ์แบบไหน ยิ่งหากว่าคุณรู้มือกันแล้ว คนซ่อนจะสามารถอ่านการตัดสินใจของคนขี่ได้อย่างแม่นย ำ และผู้ขับขี่แทบจะไม่มีความรู้สึกเลยว่ามีคนซ้อนท้าย อยู่
    3. อย่าพยายามใช้การโหน
    หรือถ่วงน้ำหนักช่วยคนขี่เวลาที่เราเอียงเข้าโค้ง เพราะการถ่วงน้ำหนักถ้าผิดจังหวะ มากหรือน้อยเกินไป อาจจะทำให้รถแหกโค้งได้ง่ายมาก ดังนั้นดีที่สุดคือนั่งสบายเอียงไปเป็นแนวเดียวกับตั วรถ และไม่ต้องเกร็งลำตัว ถ้ารู้สึกว่ารถเอียงมากให้ใช้วิธีย่อตัวหมอบอยู่หลัง ผู้ขับขี่ และใช้สายตามองข้ามไหล่คนขี่ไปในทิศทางเดียวกับโค้ง
    4. ใช้ต้นขาหนีบตะโพกของผู้ขับ
    โดยไม่ให้ตะโพกของเราเลื่อนไปหาคนขี่ โดยเฉพาะเวลาเบรก ยิ่งเบรกแรงให้บีบเน้นขึ้น และแตะไว้เบาๆ ไม่ต้องออกแรงเวลาไม่มีอุปสรรคข้างหน้า
    5. เวลาขับรถขึ้นเขา
    ผู้ซ้อนท้ายควรโน้มลำตัวท่อนบนไปด้านหน้า และขณะเดียวกันถ้าเป็นการขับรถลงจากเขา ให้ใช้การเลื่อนตะโพกไปด้านหลัง และกดตัวให้ต่ำลงจะเป็นการช่วยถ่วงน้ำหนักให้รถทรงตั วได้ดีขึ้น
    6.เมื่อเจอทางที่ขรุขระ
    ควรเอามือจับถังทั้งสองข้างและยกตะโพกขึ้นไม่ให้ก้นต ิดเบาะ (ไม่ต้องยกสูง) จนกว่าจะผ่านพื้นขรุขระ หรือเนินกระโดดไปก่อน
    7.กรณีที่รถเสียหลัก ซึ่งโดยมากมักจะเป็นตอนจดรถหรือหยุดรถคนซ้อนท้ายไม่ค วรใช้วิธีกระโดดลงจากรถ แต่ควรใช้วิธีย่อตัวยืดขาข้างที่อยู่ไกล้พื้นที่สุด ( โดยมากเป็นข้างที่รถกำลังจะล้ม ) ลงแตะพื้นจนเต็มเท้าก่อนค่อยดึงขาอีกข้างออกจากพักเท ้า ถ้ารถยังไม่ล้ม ให้ใช้ตะโพกดันข้างรถไว้ถ้ารถยังไม่ล้ม อาจจะช่วยกู้สถานะการณ์ก่อนที่รถจะล้มไปจริงๆได้
    การลงจากรถ
    ตอนที่อันตรายและเสี่ยงต่อการพาให้รถล้มกลิ้งนั้นตอน ที่คนซ้อนจะลงจากรถ เสี่ยงพอๆกับการขึ้นรถ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีโดยเฉพาะคนซ้อนท้ายที่มีน้ำหนัก ตัวมากกว่าผู้ขับขี่
    ขั้นตอนการลงจากรถนั้น เราทำย้อนกระบวนการกับตอนขึ้น เริ่มจากภาพที่ 12 ก่อนจะลงจากรถต้องมั่นใจว่าคนขี่รถอยู่ในท่าทางที่พร ้อมแล้ว ง่ายที่สุดก็คือการถาม หรือวิธิเดิมคือเอามือแตะหัวไหล่ทั้งสองเข้าสักครูหน ึ่งเพื่อเป็นการเตือนคนขี่ จากนั้นออกแรงจากขายืดตัวขึ้น ตะหวัดส้นเท้าขวาขึ้นมาเอาหัวเข่าขึ้นมาพักบนเบาะ
    จากนั้นเอามือขวาย้ายจากหัวไหล่ มาจับที่หูจับหรือยันที่เบาะท้าย แล้วย่อตัวตัวลงด้วยขาซ้ายที่ยังวางพักเท้าอยู่
    ขั้นสุดท้ายค่อยๆ ย้ายน้ำหนักทั้งหมดมาไว้ที่ขาซ้าย ซึ่งยังวางอยู่บนพักเท้า แล้วค่อยเลื่อนเข้าขวามาริมเบาะ และปล่อยขาขวาลงมา โดยให้เท้าขวาสัมผัสพื้นเต็มเท้าจากนั้น ค่อยย้ายน้ำหนักจากขาซ้ายที่อยู่บนพักเท้ามาไว้ที่ขา ขวา จากนั้นค่อยปล่อยขาซ้ายลงมายืน และปล่อยมือที่จับหัวไหล่คนขี่ และเบาะท้ายก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
    ข้อควรระวังตอนลงจากรถ
    1. ต้องมั่นใจก่อนว่าคนขี่นั่นรับรู้แล้วว่าเราจะลงจากร ถ
    2.ไม่ต้องรีบร้อนกระโดนลงจากรถ
    3.ให้ลงจากด้านซ้ายเป็นหลัก และก่อนลงจากรถให้มองด้านหลังรถ และพื้นที่จะลงเสียก่อนว่าปลอดภัย
    .. == SPM.Rider ..Classic & Bigbike Club ==
    /\2 ......เรียกสั้นๆว่า...SPM ....../\2

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •