สวัสดีค่ะ…วันนี้ภูมิใจนำเสนอเรื่องราวสำหรับหลายๆ คนที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ ทั้งจากซื้อต่อจาก ญาติ คนสนิท ต่าง ๆ หรือ ซื้อมาจากในอินเตอร์เน็ต ก็ตามแต่ พอจะไปโอน มันเกิดอาการกังวลจิตใจว่าจะต้องอย่างไร วันนี้อยากมา Share เรื่องราว ขั้นตอนการทำธุรกรรม การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ยังไม่รู้นะคะ การโอนตั้มขอแบ่งเป็นหัวข้อ หลักๆ คือ 1. โอน ตรง 2. โอน ลอย
หลักฐานที่ใช้ • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผุ้มีอำนาจลงนาม • แบบคำขอโอนและรับโอน (กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว) • หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง
สถานที่ติดต่อ สำนัก งานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปราก ฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้
ขั้นตอนการดำเนินการ • นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ) • ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียม ที่งานทะเบียนรถ • รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
หมายเหตุ การโอนกรรมสิทธิ์รถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันโอน (หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท)
อ้างอิง: ขั้นตอนต่าง ๆ เข้าไปที่เวปไซด์ http://www.dlt.go.th/th
วิธีที่ 1 การโอนกรรมสิทธิ์ ตรงกับเจ้าของ หลังจากทำสัญญาซื้อขายกันเสร็จสรรพ ก็ทำธุระกรรมได้เลย วิธีนี้ทำได้ง่ายๆ โดยผู้ซื้อและผู้ขาย หรือ คนโอนกับคนรับโอน จับมือกันไปหวานแหววกระหนุงกระหนิงไปทำร่วมกันได้เลย สามารถนำรถยนต์เข้าไปตรวจที่อาคารตรวจสภาพได้เลย หมายเหตุ: รถที่จะนำไปโอนกรรมสิทธิ์ได้นั้น ต้องมีสภาพตรงตาม คู่มือจดทะเบียน (เล่ม) เช่นหากมีการติดตั้ง แก้ส NGV / LPG ก็ต้องแจ้ง แก้สลงในคู่มือให้เรียบร้อย แต่หากยังไม่ได้แจ้ง แต่มีเอกสาร สามารถดำเนินการพร้อมๆ กันได้เลยค่ะ กรณีที่คล้ายคลึงกันก็เช่น เปลี่ยนสี ติดตั้งต่อเติมรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็นต้นค่ะ ตำแน่งการเซ็นที่ถูกต้องคือ
ผู้ขายเซ็น ตรงที่ทำเครื่องหมายไว้
ส่วนผู้ซื้อ เซ็น ตรงที่ทำเครื่องหมายไว้
ข้อดีของวิธีนี้คือ ผู้ขายมั่นใจได้ว่า รถคนนี้กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อทันที หากมีการปรับกรณีผิดวินัยทางจราจร หลังจากวันที่ทำธุรกรรม ไม่ต้องมาแบกความเสี่ยงเรื่องภาระต่างๆ หรือ ภายหลังจากการขายแล้วไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์แล้วรถเกิดเป็นของกลางในการก่อคดีต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ ยาเสพติด เจ้าของกรรมสิทธิ์ล่าสุดจะเป็นบุคคลแรกที่ทางตำรวจจะติดตาม เรียกตัวมาสอบถาม ข้อเสีย ต้องเสียสละเวลาไปด้วยกัน ซึ่งระยะเวลาในการทำธุระกรรมทางทะเบียนขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ และจำนวนผู้ใช้บริการ ณ ขณะนั้นด้วย แต่หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตัวเองได้ อาจจะมอบอำนาจให้คนที่ไว้ใจได้มาดำเนินการแทน แต่ระยะเวลาในการดำเนินการก็เท่าเดิม หรืออาจเลี่ยงไปใช้วิธีโอนลอยได้ ข้อปฏิบัตสำคัญของวิธีนี้ 1. กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน เพราะว่าถ้าคุณกรอกไม่ครบทางเจ้าหน้าที่จะให้คุณไปกรอกใหม่แล้วค่อยมารับบัตรคิว 2. ติด อากรแสตมป์กรณีมีใบมอบอำนาจ 10 บาท / 1 ใบมอบอำนาจ 3. ตรวจดูวันหมดอายุของบัตรประชาชน เป็นสำคัญ 4. ผู้ซื้อดูวันต่อภาษีด้วย หากภาษีหมดจะถูกบังคับให้ต่อภาษีก่อนจึงจะสามารถโอนได้ 5. ดูด้านหลัง สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่ม) หน้าบันทึก 18-19 ว่ามีการแจ้งขอใช้ในเขตพื้นที่ใด ต้องไปทำเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ที่เขตพื้นที่รับผิดชอบนั้น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์ทะเบียนอยู่ต่างจังหวัด แต่ใช้รถยนต์ทะเบียน กรุงเทพต้องการทำเรื่องขอใช้ป้ายทะเบียนในกรุงเทพ แต่ต้องเลือกว่า จะใช้ในเขตใด
ตามรายการต้านล่างนี้ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 1005 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทร. 0-2415-7337
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตบางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 51 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2882-1620-35
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และ ทวีวัฒนา
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2332-9688-91
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตพระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 34 หมู่ 6 ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทร. 0-2543-5500-2
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว และคลองสามวา
กรณีไม่ได้ระบุว่าขอใช้ป้ายในเขตอื่น หรือจังหวัดอื่น ให้ดูตาม เขตหรือ จังหวัดในหน้าผู้ครองครอง คนสุดท้ายได้เลยค่ะ ของต่างจังหวัด ดูข้อมูลได้ที่ http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_weblinks&view=category&id=54&Itemid=57
วิธีที่ 2 การโอนลอย วิธีนี้คำ ฮอตฮิตติดปาก ใครๆ ก็พูดๆกัน ว่าโอนลอย แล้วโอนลอยคืออะไร โอนลอย คือการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม เซ็นผู้โอนไว้แต่ไม่ได้ระบุ ว่าจะโอนให้ใคร โดยให้เอกสารสำหรับการโอนไปทั้งหมด • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผุ้มีอำนาจลงนาม • แบบคำขอโอนและรับโอน • หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง
[b]ข้อควรระวังสำหรับวิธีโอนลอย[/b] 1. ห้ามลงวันที่ในใบคำขอโอน 2. ดูตำแน่งวันหมดอายุบัตร โดยให้คุณประเมินดูว่าระยะเวลา ที่คุณจะไปดำเนินการโอนเมื่อใด มีเวลาพอก่อนวันบัตรหมดอายุหรือไม่ 3. ลายเซ็นในหน้าผู้ครอบครองสุดท้าย ได้เซ็นหรือยังและลายมือชื่อนั้นต้องตรงกับเอกสารที่ใช้กรอก 4. ดูชื่อในเล่มทะเบียนและบัตรประชาชนตรงกันหรือไม่ หากไม่ต้องต้องขอเอกสารในการเปลี่ยนชื่อ มาประกอบด้วย 5. ใบมอบอำนาจ เตรียมไว้เผื่อ 2 ชุด สำหรับการย้ายจังหวัดจะใช้ เพิ่มอีกชุดกรณีต้องการใช้รถในจังหวัดอื่นหรือออกทะเบียนเป็นพื้นที่อื่น 6. กรณีเจ้าของรถเป็นช่าวต่างชาติ * ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง ซึ่งได้รับการตรวจลงตราวีซ่าถูกต้องตามกฎหมาย * หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่หรือหนังสือรับรองการทำงานจากสถานฑูต กรมการกงสุล กองตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางาน หน่วยราชการอื่นๆ หรือองค์การระหว่างประเทศ 7. เก็บสัญญาซื้อขายและสำเนาบัตรของผู้ขาย ไว้ตลอดอายุรถยนต์ เพราะหากมีการปรับกรณีผิดวินัยทางจราจร หลังจากวันที่ทำธุรกรรม ไม่ต้องมาแบกความเสี่ยงเรื่องภาระต่างๆ หรือ ภายหลังจากการขายแล้วไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์แล้วรถเกิดเป็นของกลางในการก่อคดีต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ ยาเสพติด เจ้าของกรรมสิทธิ์ล่าสุดจะเป็นบุคคลแรกที่ทางตำรวจจะติดตาม เรียกตัวมาสอบถาม คุณจะใช้สัญหาซื้อขายและ สำเนาบัตรของผู้ขายมาประกอบคำให้การได้
ตำแหน่งการเซ็นให้ถูกต้อง สำหรับผู้โอน
ใบมอบอำนาจ
เซ็นสำเนาบัตรประชาชน ให้เซ็นรับรองว่า “ใช้สำหรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทะเบียน……………”
แบบคำขอต่างๆ ขอได้ที่ http://www.dlt.go.th/th/eform/index.php ในความเป็นจริงแล้วจะมีการโอนหลายแบบ เช่นการ โอนย้ายปลายทาง การโอนจากไฟแนนซ์มาผู้เช่าซื้อ หรือการซื้อที่เจ้าของเพิ่งปิดไฟแนนซ์มา ซึ่งมีหลายกรณี เอาไว้โอกาสหน้าจะมาเหลาให้อ่านใหม่นะคะ ข้อมูลที่ให้หวังว่าเป็นประโยชน์กับคนอื่นไม่มาก็น้อยนะคะ ^ ^ ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=car2home&month=03-2013&date=14&group=1&gblog=5
www.Stats.in.th 2023 Powered By Thaiscooter.com Truehits.net