สิ่งที่ต้องดูแลสำหรับคนมีรถนอกจากการบำรุงรักษารถยน ต์ตามระยะแล้ว ก็คือการต่อทะเบียนหรือการชำระภาษีรถยนต์ หรือที่มักเรียกกันว่า “ป้ายภาษี” หรือ “ป้ายวงกลม” เมื่อได้ชำระภาษีรถยนต์แล้วจะได้ป้ายภาษีรถยนต์เป็นแ ผ่นสี่เหลี่ยมสำหรับติดไว้ที่กระจกหน้ารถเพื่อแสดงว่ ารถยนต์ได้ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว เพราะการชำระภาษีรถยนต์จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการทำ พ.ร.บ. แล้วจึงสามารถต่อภาษีได้ หากชำระภาษีแล้วแต่ทำแผ่นป้ายภาษีรถยนต์หรือแผ่นป้าย กระดาษสี่เหลี่ยมที่ติดไว้ที่หน้ากระจกรถยนต์หล่นหาย จะต้องทำอย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ

ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่ติดไว้ที่กระจกหน้ารถ เพื่อเป็นเอกสารแสดงว่ารถยนต์ของเราได้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้วเป็นที่เรียบร้อย หากไม่มีป้ายภาษีหรือติดแสดงให้เห็นชัดเจนมีโทษปรับส ูงสุด 2,000 บาท

[size=large]ป้ายภาษีรถยนต์หายต้องทำอย่างไร[/size]
1. ให้แจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นนำป้ายภาษีของเราไปแอบอ้า งหรือกระทำผิดกฎหมาย และจะได้มีหลักฐานยืนยันว่าทำสูญหายไป
2. เตรียมเอกสารในการขอป้ายภาษี
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ เล่มรถสีน้ำเงิน หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ต้องแจ้งให้บริษัท ฯ ไฟแนนซ์ดำเนินการขอให้
- สำเนาใบแจ้งความ หรือ สำเนาบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เราได้ไปแ จ้งความหรือลงบันทึกประจำวันไว้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ และนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงติดตัวไปด้วย

กรณีเจ้าของรถไม่ได้สามารถมาด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ


[size=large]ขั้นตอนการดำเนินการที่กรมขนส่งทางบก[/size]
- ติดต่อที่สำนักงานขนส่งทางบกที่รถยนต์ได้จดทะเบียนไว ้ แจ้งเจ้าหน้าว่ามาติดต่อทำแผ่นป้ายภาษีเนื่องจากสูญห าย หากมีใบแจ้งความก็ยื่นให้เจ้าหน้าที่ แต่หากไม่มีทางเจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอกเพิ่ม พร้อมใบคำร้องอีก 1 ใบ
- รับบัตรคิวกับเจ้าหน้าที่รอเรียกเพื่อดำเนินการ
- ชำระอัตราค่าธรรมเนียม 25 บาท (ค่าคำขอ 5 บาท ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
- รอรับแผ่นป้ายภาษีใหม่
หมายเหตุ การยื่นคำขอรับเอกสารแทนการสูญหายต้องทำภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการสูญหาย


[size=large]หากยังไม่จ่ายภาษี ไม่มีแผ่นป้ายภาษี[/size]

1. ตรวจสภาพรถยนต์ และขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส ( ในกรณีที่รถมีการติดแก๊ส )
รถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกคร ั้ง สำหรับรถติดแก๊สไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแ ก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก

2. ทำ พ.ร.บ. รถยนต์
ก่อนต่อภาษีรถยนต์ ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อน เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง

3. ตรวจเช็กเอกสารให้ครบถ้วนก่อนยื่นต่อภาษีรถยนต์
1) เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
2) พ.ร.บ. รถยนต์ ( ใช้เอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ )
3) ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
4) เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)

4. สถานที่รับชำระภาษีรถยนต์
- สำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th


เท่านี้ก็จะได้แผ่นป้ายภาษีติดรถใหม่แล้ว อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ สามารถซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้ง่าย ๆ
รับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ทันที พร้อมยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปีกับกรมการขนส่งทางบกไ ด้เลย
คลิก www.smk.co.th/productmotordetail/16
ประกันรถยนต์ตามเวลา จ่ายสบาย ไม่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อน เลือกคุ้มครองได้ตามใจ 3, 6, 12 เดือน
คลิก www.smk.co.th/premotor หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com
[size=large]สินมั่นคงประกันภัย ...ประกันรถ ประกันเวลา...[/size]