ปัญหาปวดใจบนท้องถนนมักเกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนก ระทำความผิดและสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้ร่วม ใช้ถนน และหลายครั้งที่ปัญหาลุกลามบานปลายใหญ่โตจนเป็นสาเหต ุแห่งการทะเลาะวิวาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ปัญหาปวดหัวกับถนนในหมู่บ้าน รถชนเด็ก รถจอดหน้าบ้าน ใครผิด? https://www.smk.co.th/newsdetail/2850) หรือหลายครั้งก็อาจสร้างผลกระทบให้กับผู้ร่วมทางคนอื ่นๆ จนถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ ไม่เว้นแม้แต่การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า ที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนเดินถนนและหลายครั้งอาจก ่อให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้ามีความผิดตามกฎหมาย และมีโทษหนักมากยิ่งขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

[size=large]ขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้ามีโทษ![/size]
การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า นอกจากจะเป็นความผิดในคดีจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นความผิดคดีอาญาด้วยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบ ก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 (7) กำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอ ันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 - 1,000 บาท ตามมาตรตรา 157

ในส่วนของคดีอาญา การขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า มีโทษปรับถึง 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเร ียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 17(2) กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือม ีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ไ ด้ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามาตรา 56
ทั้งนี้ ผู้ที่แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดขับขี่ หรือจอดรถบนทางเท้าต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งหากดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดแล้ว ประชาชนที่แจ้งเบาะแสจะได้รับเงินส่วนแบ่งค่าปรับเป็ นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับตามมาตรา 48 วรรคสาม ประกอบมาตรา 57

[size=large]ติดตั้ง AI จับมอเตอร์ไซค์ขับขี่บนทางเท้า[/size]
ปัญหาการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นปัญหาที่ได ้รับการร้องเรียนจากประชาชนมามาก และเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมานาน ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ เทศกิจเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจับปรับ ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการใช้เจ้าหน้าปฏิบัติการอาจทำให้เกิดการกระทบ กระทั่งขัดแย้งกับผู้ที่โดนจับและอาจมีปัญหาเรื่องคว ามโปร่งใสได้ กรุงเทพมหานครจึงได้นำเทคโนโลยีที่เป็นกล้อง AI มาจับทะเบียนรถ ติดตั้งบนทางเท้าและตีเส้นกรอบในจุดที่กำหนดไว้ เมื่อมีรถผ่านมาบนทางเท้าก็จะจับภาพที่ป้ายทะเบียนรถ บันทึกไว้และสามารถนำข้อมูลนี้มาดำเนินการปรับผู้ที่ ทำผิดซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก ทำให้ทราบเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์และผู้ขับขี่ได้ในเบื้ องต้น โดยมีอัตราโทษปรับอยู่ที่ 2,000 บาทต่อรายซึ่งสูงกว่า พ.ร.บ.จราจร โดยติดตั้งไว้จำนวน 5 จุดนำร่อง ได้แก่

1. จุดที่ 1 ปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ)
2. จุดที่ 2 โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์
3. จุดที่ 3 ปากซอยเพชรเกษม 28
4. จุดที่ 4 ปั๊มน้ำมัน ปตท. เทพารักษ์
5. จุดที่ 5 ปากซอยเพชรบุรี 9

[size=large]จ่ายค่าปรับขับขี่บนทางเท้าอย่างไร[/size]
สำหรับจ่ายค่าปรับการขับขี่จากการตรวจจับของกล้อง AI เทศกิจจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลแล้วจึงทำหนังสือส่งไปให ้กับเจ้าของรถตามทะเบียนบ้านที่เชื่อมข้อมูลไว้กับกร มขนส่งทางบกเพื่อแจ้งให้จ่ายค่าปรับ ภายใน 15 วัน ในอัตรา 2,000 บาท หากยังไม่มาจะส่งหนังสือแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 และนำรายได้เข้า กทม. ซึ่ง กทม. จะขยายเพิ่มอีก 100 จุด ในการติดตั้ง AI ให้ครอบคลุมภายใน 1-2 เดือน ซึ่งภายหลังจากที่ได้นำระบบ AI มาติดตั้งบนทางเท้าได้ 1 สัปดาห์แล้วก็พบว่า มีรถมอเตอร์ไซค์ ทำผิดกว่า 4,946 คัน ในจำนวนนี้ เป็นรถของประชาชนทั่วไปมากที่สุด 1,884 คัน และเป็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ 592 คัน และกลุ่มไรเดอร์ 309 คัน โดยจุดที่พบการทำผิดมากที่สุด คือ ทางเท้าปากซอยรัชดาภิเษก 36 หรือ ซอยเสือใหญ่อุทิศจำนวน 2,921 คัน

สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนและไม่มีเงินเสียค่า ปรับ 2,000 บาท เจ้าหน้าที่จะยึดรถมอเตอร์ไซค์ไปเก็บไว้ที่สำนักงานเ ขต หรือที่ที่ปลอดภัย ก่อนจะให้นำเงินมาเสียค่าปรับโดยมีระยะเวลา 1 ปี หลังวันที่ถูกปรับ หากไม่มารับคืนก็จะดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป

[size=large]ขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าชนคน เสียค่าปรับเท่าไร[/size]
บทลงโทษตามกฎหมายจราจร ตามข้อกำหนดของกฎหมาย “ทางเท้า” ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้ประกาศไว้ว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ของทาง หรือทั้งสองข้างของทางหรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใ ช้เป็นที่สำหรับคนเดิน หากขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าและชนคนจนได้รับบาดเจ็บ มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 โทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าได้รับบาดเจ็บสาหัส ถือว่าเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังถือว่าผิดข้อหาขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันค วร ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (7), 157, พรบ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเม ือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17, 56 โทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ปัญหาการฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นสิ่งที่สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนมานาน การนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับ ผู้คนได้มากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนเพิ่มขึ้นด้วย ช่วยให้ชีวิตบนท้องถนนของคุณปลอดภัยได้มากขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com