อยากเห็นรูปความเป็นมาจักรยานในสยามครับ ใครมีแบ่งกันชมบ้าง - หน้า 2
                                
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แรกแรก 1 2 3 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 16 ถึง 30 จากทั้งหมด 37

ชื่อกระทู้: อยากเห็นรูปความเป็นมาจักรยานในสยามครับ ใครมีแบ่งกันชมบ้าง

  1. #16

    มาตรฐาน



    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ 2007122 อ่านข้อความ
    ประวัติศาสตร์ + วิทยาทานครับคุณ อภิรักษ์
    ติดตามต่อไปได้เรื่อยๆครับพี่สุชาติ ว่างๆเลยหาอะไรอ่าน

    แล้วเอามาแบ่งปันครับ

    เวปของพี่วสันต์ คนบ้ารถถีบ

    มีเรื่องราวที่น่าสนใจอยุ่หลายบทความเช่นกันครับ


    คลิกครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 01-06-2010 เมื่อ 00:35
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  2. #17

    มาตรฐาน

    บทความและรูปภาพข้างล่างต่อไปนี้อ้างอิงมาจากเวป จักรยานเพื่อนบ้านครับ thaimtb คลิก













    รูป รูป  
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  3. #18

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ new_hudson อ่านข้อความ
    บทความและรูปภาพข้างล่างต่อไปนี้อ้างอิงมาจากเวป จักรยานเพื่อนบ้านครับ thaimtb คลิก
    The Return of the “Padal Machine”
    The story of the bicycle in Thailand began over a hundred years ago. It was a little before 1878. Young King Chulalongkorn has only taken matters of the country into his own words for five years from the Regent, now Counselor of State and most powerful man in the government, Somdej Chaopraya Maha Srisuriyawongse (or Chuang Bunnage). If there was one who did not fear him, that person would be Sir Thomas George Knox, the Consul General of Britain in Siam whose mighty mother country had gobbled up neighboring Burma, Malaysia and India as her colonies.
    The situation came when the Chaopraya imprisoned Knox’s Thai son-in-law on charges of corruption. The Consul General gave an ultimatum: apologize to me, release my son-in-law or I will call in British army ships and hold you hostage there until you deliver my son-in-law. To prove his power, ships from the military base in Hong Kong arrived and closed off the Gulf of Thailand of over a month. Bangkok became desperate but King Chulalongkorn showed his wisdom as ruler of the country and decided on diplomatic means.
    A team of special ambassadors was dispatched to explain the situation to Queen Victoria. The head of that successful mission was Praya Pasakarawongse (Porn Bunnag) who took the opportunity to learn about new inventions in Britain and Europe before returning. Several vehicles yet unnamed in Thai came back with him on the ship in late 1879. They were the first bicycles of the country.
    The first models to enter Thailand are now prized items for collectors and can easily command a price equivalent to a second truck or a plot of farmland. It is no surprise that obsolete brands have become current again (although in different market) and their owners approached and offered sums of several times the bicycle’s original value.

    Story: Wutichart Chumsanit


    ใครสร้างสรรค์คำว่า “จักรยาน”

    รถจักรยานเป็นของใหม่ เข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
    แต่คำว่า “จักรยาน” ถูกผูกใช้มาก่อนไม่น้อยกว่าสี่ปี
    มิหนำซ้ำ เมื่อรถ “bicycle” แพร่หลายเข้ามา ชาวสยามยังไม่ได้เรียกมันว่า “จักรยาน” ด้วย
    ผู้สนใจเรื่องนี้ สามารถหาหนังสืออัตชีวประวัติ ประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่า ๑-๒ พิมพ์โดย องค์การค้าคุรุสภาพ (พ.ศ. ๒๕๐๔) มาพิจารณาเพิ่มเติมได้
    เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ เล่าว่า ในพ.ศ. ๒๔๑๙ ขณะดำรงราชทินนามที่จมื่นศราภัยสฤษดิการ ท่านมีอายุ ๒๕ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้บรรพชาอุปสมบท สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินผู้เป็นญาติผู้ใหญ่ จึงสั่งให้ท่านเข้าพิธีบวชพร้อมกับหลานของผู้สำเร็จร าชการอีกหนึ่งคน
    บุคคลผู้นั้นคือ นายเหมา บุนนาค รับราชการดำรงราชทินนามที่ “หลวงจักรยานานุพิจารณ์” เรียกสั้น ๆ รับรู้โดยทั่วไปว่า “หลวงจักรยาน”
    โดยอ้างหลักฐานคือ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ ภาค ๓ พ.ศ. ๒๔๒๐ ที่กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า
    “...หลวงจักรยานพากัปตันเดนเข้ามาหา...”
    เอกสาร “การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชการที่ ๕“ ระบุว่า ตำแหน่งหน้าที่ของหลวงจักรยานคือ “...ผู้ช่วยราชการในกรมเรือกลไฟ” นายเหมา บุนนาค ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งในต้น พ.ศ. ๒๔๑๙
    เรือกลไฟเริ่มมีใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐–๒๔๐๓) แต่ผม (ผู้เขียน) ยังไม่สามารถค้นได้ว่า ในกรมเรือกลไฟมีการแต่งตั้งข้าราชการผู้ใดให้ดำรงบรร ดาศักดิ์หลวงจักรยานมา ก่อนนายเหมา บุนนาค หรือไม่
    อย่างไรก็ตาม เท่าที่ค้นพบนี้ทำให้รู้แน่ว่า เดิมทีจักรยานมิได้อยู่บนบก หากแต่อยู่ในน้ำ
    แล้ว “จักรยาน” ขึ้นบกเมื่อไร ?

    จากหลักฐานต่าง ๆ พบลำดับการเปลี่ยนแปลงของการขานนาม “bicycle” ในเมืองไทย ดังนี้
    - พ.ศ. ๒๔๒๓ เรียกว่า “ไตรศิเคอล” (ไบศิเคอล-จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน)
    - พ.ศ. ๒๔๒๕ เรียก “รถถีบ” (จดหมายเหตุรายวัน กรมพระยาเทวะวงศ์ฯ)
    - พ.ศ. ๒๔๓๙ เรียก “ทวิจักรยาน” (หนังสือ ยุทธโกษ)
    - พ.ศ. ๒๔๔๒ หนังสือ สรรพพจนานุโยค ของ แซมมวล สมิท นิยามคำว่า bicycle ไว้เป็นครั้งแรกใน
    ประวัติศาสตร์พจนานุกรมไทยดังนี้
    bicycle = รถถีบด้วยเท้าให้เดิน มีล้อใหญ่ข้างหน้า ล้อเล็กข้างหลัง
    รถไบไศรเก็ล รถจักรยานเช่นนี้ถีบเดินเร็วนัก
    - พ.ศ. ๒๔๔๔๓ เรียก “ไบศิเกอล” (ลายพระหัตถ์ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี)

    สังเกตได้ว่า คำ “จักรยาน” เริ่มมีปรากฏมาพัวพันกับ “bicycle” แล้วตั้งแต่ปี ๒๔๓๙ เป็นต้นมา และคงกว้างขวางในระดับหนึ่ง ทำให้ดิกชันนารีอังกฤษ-ไทยของหมอสมิทเก็บคำนี้ไว้ (แต่ในดิกชันนารีอังกฤษ-ไทย อีกเล่มคือ ศิริพจน์ภาษาไทย ของสังฆราชปาเลกัวซ์ ตีพิมพ์ใหม่ พ.ศ. ๒๔๓๙ ไม่มีคำแปลของ bicycle บรรจุไว้)

    อย่างไรก็ตาม คำ “จักรยาน” ก็น่าจะยังคงไม่ได้ถูกรับรองอย่างเป็นทางการ ด้วนในหลายปีหลังจากนั้น ยังมีผู้เรียกทับศัพท์ว่า “ไบศิเกอล”, “ไบศิเกิ้ล” เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบันทึกต่าง ๆ ของเจ้านายชั้นสูง
    อเนก นาวิกมูล พบข้อมูลสำคัญจากหนังสือ สยามประเภท ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ฉบับวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๔๘ ที่น่าจะทำให้เป็นอันยุติว่า ผู้ใดคือผู้นำคำ “จักรยาน” มาใช้กับ “bicycle”
    ก.ศ.ร. กุหลาบ ว่าไว้ดังนี้...
    “...(ข้อ ๕ ถามว่า) รถไบศิเกิ้ลแปลว่าอย่างไร ? ตอบว่าเราได้แปลแล้วก่อนมนุษย์ทั้งสิ้น ได้แปลแล้วลงใน ออบเซอร์เวอร์ เมื่อปี ๑๑๔ (ร.ศ. ๑๑๔ หรือ พ.ศ. ๒๓๓๘–ผู้เขียน) แปลชื่อรถไบซิเกิ้ลนั้นแล้วจึ่งแปลว่าดั่งนี้ ‘จักรยาน’ จักร แปลว่า หมุน, ยาน (หรือ) ยานะ แปลว่าพาหนะพาไป คือจักรพาไปเท่านั้นเอง...”
    แม้ในระยะแรก ศัพท์บัญญัติที่เสนอโดย ก.ศ.ร. กุหลาบจะได้รับการปฏิเสธจากบุคคลชั้นสูงอยู่บ้าง แต่ในที่สุดมันก็แพร่หลายเป็นที่ยอมรับมาจนทุกวันนี้
    นอกจากคำ “จักรยาน” และ “รถถีบ” แล้ว บางท้องถิ่นของไทยที่ภาคใต้ เรียกยานชนิดนี้ว่า “รถสองล้อ”
    ส.พลายน้อย และ ล้อม เพ็งแก้ว จำได้ว่า ยังมีศัพท์บัญญัติอีกคำหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวเลื อกให้แก่ bicycle คำนั้นคือ “แรงน่อง”
    ผู้บัญญัติคือ น.ม.ส. หรือกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
    อย่างไรก็ตาม “แรงน่อง” ก็อ่อนแรงและเลือนไปในที่สุด

    ย้อนกลับไปที่คำ “จักรยาน” แม้เราจะเจอว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นผู้นำมาใช้จนเป็นที่ยอมรับในความหมายใหม่แล้วก็ต าม แต่ยังไม่มีการพบหลักฐานว่าใครคือผู้จับคำว่า “จักร” และ “ยาน” มาสมาสเป็นคำใหม่ให้ไว้แก่โลกอย่างแท้จริง
    ด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตั้ง (และแต่งตั้งข้าราชการ) กรมเรือกลไฟสมัยนั้น ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาทั้งสามพระองค์ และต่างได้ทรงบัญญัติศัพท์เทคนิคไว้จำนวนไม่น้อย
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  4. #19

    มาตรฐาน

    HUMBER 28 lady ตะเกียบขาวครับ
    Name:  02889-3.jpg
Views: 1653
Size:  37.7 KB
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  5. #20

    มาตรฐาน

    RALEIGH 28 Beam pair.

    Name:  02889-2.jpg
Views: 3646
Size:  43.7 KB
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  6. #21

    มาตรฐาน

    bsa 28
    Name:  02889-9.jpg
Views: 2845
Size:  39.0 KB

    sunbeam28
    Name:  02889-6.jpg
Views: 1444
Size:  39.4 KB
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  7. #22
    =_U-50_='s Avatar
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    ข้อความ
    294
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    18

    มาตรฐาน



    เยี่ยมยอดครับผม นานๆเข้ามาที เจอเข้าซะเลย เป็นกำลังใจครับ
    :: __Classic life__
    * ตามประสาคนชอบของเก่า *


  8. #23

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ =_U-50_= อ่านข้อความ


    เยี่ยมยอดครับผม นานๆเข้ามาที เจอเข้าซะเลย เป็นกำลังใจครับ

    ขอบคุณครับพี่โย้ง สำหรับกำลังใจดีๆ


    ยิ่งค้นยิ่งเจอ ยิ่งเจอยิ่งมันส์ มันส์คนเดียวไม่ได้ ไปคุยกับใครไม่รู้เรื่อง เดี๋ยวเค้าจะหาว่า บ้า

    เอามาแชร์ ให้รู้กันเยอะๆ จะได้ช่วยกันมันส์ ทุกสิ่งในโลกล้วนมันมีที่มา

    สยาม มีใน
    รายชื่อผู้สั่งซื้อสินค้า ปี๑๙๐๗ ด้วยครับ


    Name:  siam.jpg
Views: 1423
Size:  136.7 KB

    รูปนี้ผมจำเวปลิ้งไม่ได้ครับ
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  9. #24
    TTBoyz's Avatar
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    สถานที่
    Prathum,Chiangrai,Prae,Pisloke
    ข้อความ
    207
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 3 ครั้ง ใน 2 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    16

    มาตรฐาน

    อย่างนี้ต้องให้ห้าดาว.... ยอดเยี่ยมและเยี่ยมยอด ได้อรรถรสและคิดว่าเป็นประโยชน์กับคนรักจักรยานทุกๆค น

  10. #25

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ TTBoyz อ่านข้อความ
    อย่างนี้ต้องให้ห้าดาว.... ยอดเยี่ยมและเยี่ยมยอด ได้อรรถรสและคิดว่าเป็นประโยชน์กับคนรักจักรยานทุกๆค น
    ขอบคุณครับ

    ผมขอถือว่าคำชม เป็น คำตริตริงเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อๆไปนะครับ

    ยินดีรับฟัง และรับฟังข้อมูลใหม่ๆ นะครับ เพราะว่าคนเรารู้คนละนิด

    แล้วเอามาแบ่งกัน แลกเปลี่ยน จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ

    ผมเชื่ออย่างนั้นนะครับ
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  11. #26

    มาตรฐาน

    หลายๆท่านอาจเคยเห็นกันแล้วนะครับ ใบขับขี่ รถถีบ

    ตอนนี้ผมพยายามหาข้อมูลอยู่ว่า มันมีความเป็นมายังไง

    หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับใบขับขี่รถถีบ จะเผยแผ่ในกระทู้นี้ก็ยินดีนะครับ














    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 04-06-2010 เมื่อ 18:14
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  12. #27

    มาตรฐาน

    ลองดูนะครับ
    หากท่านใดมีจะถ่ายรูปมาแบ่งปันเพิ่มเติมก็ยินดีนะครั บ


    ภาพได้มาจากคลิก ครับ













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 04-06-2010 เมื่อ 18:15
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  13. #28
    paiboon's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    โบราณขาเเรง
    ข้อความ
    1,652
    ขอบคุณ
    166
    ได้รับขอบคุณ 371 ครั้ง ใน 194 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    23

    มาตรฐาน

    เอารูปครอบครัวของนายเคงเหลียง มาให้ดูครับ มีคุณโตสิต สีบุญเรืองด้วย
    รวมถึงรถที่ใช้ครับ
    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ new_hudson อ่านข้อความ
    แนบเอกสาร 1823883

    บริษัท ห้างเทพนครพาณิชย์ จำกัด ก่อ ตั้งโดย นายเคงเหลียน สีบุญเรือง ( ค . ศ .1875-1940) ซึ่งถือ กำเนิดจากครอบครัวสามัญชน แต่มุมานะพากเพียร ศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตนเอง และเริ่มทำงาน หาเลี้ยงชีพ ตั้งแต่อายุ 16 ปี ผ่านการทำงาน จากบริษัทที่ทำ ธุรกิจการค้า และองค์การส่วนราชการ ต่างๆ อาทิเช่น กรมศุลกากร กระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะได้มีโอกาสช่วยราชการที่กรม เจ้าท่า และได้เป็น ผู้รับผิดชอบ หัวหน้ากองทะเบียนเรือ และงานปกครองดูแลประภาคารในน่านน้ำไทย รวมถึงงานคิดสร้างวาง หลักระเบียบและข้อบังคับงานของกรมเจ้าท่าซึ่งเป็นพื้ นฐานของพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทยสมัยปัจจุบัน ความช่ำชองในเชิงพาณิชย์กับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ของนายเคงเหลียน ได้เป็นมูลเหตุที่ทำให้ท่าน เริ่มก่อตั้งโรงงานผลิตบุหรี่ชื่อ บริษัท ยาสูบสยาม จำกัด พร้อมกับนำเข้า ข้าวของเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด จากต่างประเทศและจักรยานเข้ามาจำหน่าย เมื่อตัวสินค้าได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะจักรยาน จึงได้สั่งจักรยานยนต์ยี่ห้อ ฮัมเบอร์ จากประเทศอังกฤษ เข้ามาจำหน่าย และได้ถือโอกาส เปิดบริษัท ดำเนินกิจการใหม่ภายใต้ชื่อ ห้างเทพนครพาณิชย์ ในปี ค . ศ .1939 ด้วยชื่อเสียงและเกียรติ คุณ ในความ เป็นพ่อค้า ที่ยึดถือความซื่อสัตย์และมีความเป็นมืออาชีพ อีกทั้งยังมีสัมพันธ์ภาพอันดีกับลูกค้าและบุคคลในวงก ารค้าขายด้วยกัน จึงทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง


    ภาย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท ห้างเทพนครพาณิชย์ จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของบุตรชายคือ นายจรูญ สีบุญเรือง และนายโตสิต สีบุญเรือง ได้ขยับขยายกิจการไปสู่ตลาดการค้าวิทยุและอุปกรณ์เคร ื่องใช้ไฟฟ้า โดยเป็นผู้แทนจำหน่าย สินค้าของ PHILIPS ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนมาตกลงทำการเซ็นสัญญ าเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าจากบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ ้า SHARP ซึ่งนับเป็นผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศรายแรกของ SHARP ภายใต้ชื่อ บริษัท ชาร์ปเทพนคร จำกัด

    ตลอด ระยะเวลากว่า 60 ปี ที่บริษัท ห้างเทพนครพาณิชย์ จำกัด เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาการ ทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ในฐานะเป็นหนึ่งผู้ประกอบการพาณิชย์รุ่นแรกๆ ที่ได้นำ จักรยาน จักรยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องรับส่งวิทยุ และ เครื่องไฟฟ้า เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ห้างเทพนครพาณิชย์ ได้สร้างชื่อเสียง และบริการอันเป็นที่พอใจของลูกค้า และด้วย ประสบการณ์หลายสิบปีจากการดำเนินกิจ การค้าทั้งตลาดในประเทศ ไทย และทั่วภูมิภาคเอเชีย ห้างเทพนครพาณิชย์ได้ทำหน้าที่ เป็นกลไกเชื่อมโยง ระหว่างผู้ผลิตสินค้าระดับโลก ไปสู่ตลาดในท้องถิ่นต่างๆ
    อ้างอิงจากคลิก













    รูป รูป  

  14. #29

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ paiboon อ่านข้อความ
    เอารูปครอบครัวของนายเคงเหลียง มาให้ดูครับ มีคุณโตสิต สีบุญเรืองด้วย
    รวมถึงรถที่ใช้ครับ
    ขอบคุณพี่ไพบูลมากครับ

    ที่กรุณาเอารูปมาแบ่งปัน


    ภาพข้างล่างขอเผยแพร่ สัก 3 วันครับ

    เพราะไม่เกี่ยวกับกระทู้ แต่ประทับใจครับ


    Name:  05_161.jpg
Views: 1382
Size:  36.2 KB

    Name:  06_105.jpg
Views: 1382
Size:  69.0 KB

    ภาพอ้างอิงจาก คลิก ครับ

    เดี๋ยวเคลียดกันครับ มาผ่อนคลายหน่อยครับ

    หากมีโอกาสก็เป็นไอเดียที่น่าใช้ครับ

    ลองเอาจักรยานโบราณมาทำเรือแบบนี้ก็น่าใช้นะครับ แต่คงต้องออกแบบโครงสร้างให้Classicหน่อย


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 05-06-2010 เมื่อ 00:23
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  15. #30

    มาตรฐาน


    ลำปางในอดีตครับ

    Name:  สถานีรถไฟรถม้า_เทศบาลนครลำปาง.jpg
Views: 1860
Size:  49.5 KB

    อ้างอิงจาก คลิกครับ มีรูปน่าสนใจหลายรูปเลยครับ
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แรกแรก 1 2 3 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •